รู้สถานะเอชไอวี (Know Your Status) เพื่อสุขภาพที่ดี และการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ
|

รู้สถานะเอชไอวี (Know Your Status) เพื่อสุขภาพที่ดี และการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ

เชื้อเอชไอวี (HIV = Human Immunodeficiency Virus) เป็นไวรัสที่โจมตีระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยเฉพาะเซลล์เม็ดเลือดขาว CD4 ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อ หากไม่ได้รับการรักษา ไวรัสจะทำลายเซลล์เหล่านี้ไปเรื่อย ๆ ทำให้ร่างกายอ่อนแอลง และมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อฉวยโอกาส

หากปล่อยให้เชื้อเอชไอวี พัฒนาต่อโดยไม่มีการรักษา อาจนำไปสู่ภาวะ โรคเอดส์ (AIDS – Acquired Immunodeficiency Syndrome) ซึ่งเป็นระยะสุดท้ายของการติดเชื้อเอชไอวี ที่ระบบภูมิคุ้มกันถูกทำลายอย่างรุนแรง อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมียาต้านไวรัส (Antiretroviral Therapy – ART) ที่ช่วยควบคุมปริมาณไวรัสในร่างกาย ทำให้ผู้ที่ติดเชื้อสามารถมีสุขภาพดี และลดโอกาสแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้

จะทำอย่างไร ถ้ามีเซ็กส์กับ คนติดเชื้อ HIV

จะทำอย่างไร ถ้ามีเซ็กส์กับ คนติดเชื้อ HIV

เรื่องเซ็กส์เป็นเรื่องธรรมชาติที่คนทุกคนจะมีได้ แต่จะทำอย่างไรหากคุณมีเพศสัมพันธ์กับ คนติดเชื้อ HIV เพราะคู่นอนที่เรารู้จักก็อาจจะไม่ได้ซื่อสัตย์กับเรา ไม่ได้บอกความจริงเกี่ยวกับสถานะเอชไอวีของตัวเอง หรือบางคู่เป็นคนที่มีความเสี่ยงบ่อยอยู่แล้ว ทำให้เราไม่แน่ใจว่า ได้พลั้งเผลอมีอะไรกับ คนติดเชื้อ HIV ไปหรือไม่ วันนี้ เรามีคำแนะนำหากคุณมีความเสี่ยงมาฝากกันครับ ทำอย่างไร ถ้าเผลอมีเซ็กส์กับ คนติดเชื้อ HIV หากรู้แน่แล้ว หรือสงสัยว่าคู่นอนเป็นคนที่มีเชื้อเอชไอวี คุณควรพิจารณาว่า ขณะที่มีเพศสัมพันธ์ได้ทำการป้องกันตัวเองด้วยถุงยางอนามัยหรือไม่ หรือก่อนหน้านี้คุณเองได้มีการรับประทานยาเพร็พ (PrEP) ที่เป็นยาต้านไวรัสเอชไอวีก่อนมีความเสี่ยงไว้ก่อนไหม เพราะปัจจัยเหล่านี้ มีผลต่อการวินิจฉัยของแพทย์ และช่วยลดเปอร์เซนต์ความเสี่ยงที่จะติดเชื้อลงไปได้มาก แต่หากคุณไม่ได้มีการป้องกันตัวเองด้วยวิธีใดเลย คุณควรปฏิบัติดังต่อไปนี้ รีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อขอรับบริการยาเป๊ป ยาเป๊ป (PEP) เป็นยาต้านฉุกเฉิน สำหรับคนที่มีความเสี่ยงต่อเอชไอวี ในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง ในผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัยกับคนที่มีเชื้อเอชไอวีหรือถุงยางอนามัยแตกรั่วในระหว่างที่มีเพศสัมพันธ์ รวมไปถึง ผู้ที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น ผู้ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ ถูกข่มขืน หรือถูกอุบัติเหตุเข็มทิ่มตำในสถานพยาบาล หากเข้าข่ายดังที่กล่าวมานี้ ควรติดต่อสถานพยาบาลที่ให้บริการยาเป๊ป (PEP) โดยเร็ว ซึ่งการรับประทานยาเป๊ปจะใช้เวลาประมาณ 28 วัน หรือตามแพทย์สั่งจ่ายยาให้ โดยการทำงานของยาเป๊ป คือ…

คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับการตรวจเอชไอวี

คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับการตรวจเอชไอวี

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่ยังไม่สามารถคิดค้นวิธีการรักษาให้หายขาดได้ นั่นก็คือ เอชไอวี (HIV : Human Immunodeficiency Virus) ที่ส่งผลต่อภูมิคุ้มกันของร่างกายผู้ติดเชื้อลดลง ทำให้ไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกายได้ เป็นสาเหตุของการเกิดโรคฉวยโอกาสต่าง ๆ ได้ง่ายมากกว่าปกติ อีกทั้งหากไม่เข้ารับการรักษาอย่างรวดเร็วแล้ว จะส่งผลต่อร่างกายทำให้เข้าสู่ระยะรุนแรงที่หลายคนรู้จักกันดีในชื่อว่า ระยะเอดส์ นั่นเอง บทความนี้เราได้รวบรวมคำตอบของทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับ “การตรวจเอชไอวี” ที่คัดสรรมาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแล้วว่า พบคำถามเหล่านี้บ่อยครั้งจากหลากหลายแหล่ง รวมไปถึงความเข้าใจผิด ๆ ที่ต้องการให้ผู้คนทั่วไปเข้าใจไปในทิศทางถูกต้อง ทำไมต้องตรวจเอชไอวี ? เอชไอวี หากทราบสถานะได้เร็วมากเท่าไหร่ โอกาสในการรักษาไม่ให้ลุกลามไปสู่ระยะรุนแรงก็มากด้วยเช่นกัน ดังนั้นการตรวจเอชไอวี จึงเป็นทางเลือกในการป้องกันที่สำคัญไม่แพ้การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ทั้งยังเป็นการเพิ่มการตระหนักถึงการดูแลตนเองและคู่ของคุณ ดังนั้นจึงทำให้การตรวจเอชไอวี เป็นสิ่งที่จำเป็นและควรทำอย่างยิ่งในทุก ๆ ปีเช่นเดียวกับการตรวจสุขภาพประจำปี เมื่อไหร่ที่ควรเข้ารับการตรวจเอชไอวี? การตรวจเอชไอวี เป็นเรื่องใหญ่สำหรับใครหลายคน ด้วยความที่ว่าไม่มั่นใจว่าตนเองนั้นมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือไม่ ตลอดจนมองว่าการตรวจเอชไอวี ควรเข้ารับการตรวจเมื่อจำเป็นเท่านั้น อย่างไรก็ตามหากคุณคือหนึ่งในผู้ที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงดังต่อไปนี้ ควรเข้ารับการตรวจพร้อมทั้งปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเร็วที่สุด การตรวจเอชไอวี ใช้เวลานานหรือไม่ ? ระยะเวลาในการตรวจเอชไอวี ขึ้นอยู่กับวิธีการตรวจที่เลือกใช้ หากเป็นการตรวจโดยสถานพยาบาลทั่วไปด้วยวิธีการตรวจที่นิยมใช้หลัก ๆ ส่วนใหญ่แล้วจะใช้ระยะเวลาทราบผลได้เร็วที่สุดใน…

วิธีป้องกัน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

วิธีป้องกัน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

แน่นอนว่า เซ็กส์ไม่ใช่เรื่องผิดแปลกอะไร เพราะมันเป็นเรื่องธรรมชาติที่มนุษย์ต้องมี แต่ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มักจะเกิดขึ้นกับคนที่ไม่ได้ป้องกันตัวเอง หรือมีการพลั้งเผลอไปโดยไม่ได้ตั้งใจ เราทุกคนจึงควรเรียนรู้วิธีการที่จะมีเซ็กส์อย่างปลอดภัย และห่างไกลจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วย เพราะไม่ใช่เพื่อใคร แต่เพื่อตัวคุณเองทั้งนั้น วันนี้ ลองมาอ่านบทความนี้กันดีกว่าว่าคุณจะสามารถเซฟตัวเองไม่ให้เข้าใกล้โรคร้ายได้อย่างไรบ้าง โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีอะไรบ้าง โดยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ถูกพบมากที่สุด ได้แก่ เอชไอวี เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ Human Immunodeficiency Virus (ฮิวแมนอิมมิวโนเดฟีเชียนซีไวรัส) เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง จนไม่อาจต่อสู้กับโรคร้ายต่างๆ ที่เกิดขึ้น มีระยะฟักตัวตั้งแต่ 2-6 สัปดาห์ขึ้นไปถึงจะตรวจพบเชื้อ หรือขึ้นอยู่กับวิธีการตรวจที่เลือกด้วย ปัจจุบันสามารถตรวจแบบแนท (NAT) ที่หลังมีความเสี่ยงประมาณ 5-7 วัน โรคหนองในแท้ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Neisseria Gonorrhoeae (ไนซ์ซีเรีย โกโนร์เรีย) อาจมีอาการเกิดขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์หลังจากติดเชื้อ ในเพศหญิง จะเกิดอาการตกขาวผิดปกติ มีเลือดออกบริเวณช่องคลอด รู้สึกแสบเวลาปัสสาวะ ส่วนในเพศชาย จะมีหนองสีเขียวหรือเหลืองไหลออกมาจากปลายอวัยวะเพศ ลูกอัณฑะบวม และเจ็บเวลาปัสสาวะ เป็นต้น โรคหนองในเทียม เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ…

ตรวจ HIV ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป กับชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง INSTI
|

ตรวจ HIV ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป กับชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง INSTI

ใครยังคิดว่าการตรวจเอชไอวีเป็นเรื่องยาก? บทความนี้จะทำให้คุณคิดใหม่และมองการติดเชื้อเอชไอวีเปลี่ยนไป …จากหัวข้อเรื่องคงพอเดาได้แล้วว่า เนื้อหาที่จะมาเจาะลึกกันในวันนี้เป็นเรื่องที่หลาย ๆ คนคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี แต่เชื่อหรือไม่ว่าน้อยคนมากที่จะเข้าใจอย่างลึกซึ้ง เพราะพื้นฐานแล้วยังมีอีกหลายคนมองว่า เอชไอวีคือโรคเอดส์ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วทั้ง 2 มีความเกี่ยวข้องกันแต่ไม่ใช่โรคเดียวกันตามที่เข้าใจ สิ่งที่สำคัญไปกว่านั้นคือแง่คิดที่มีต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่เป็นไปในทางลบมากกว่า สิ่งเหล่านี้เองเกิดจากการรับข่าวสารและการตีความที่แตกต่างกัน คำถามคือข้อมูลเกี่ยวกับเอชไอวีส่งผลต่อการตรวจเอชไอวีด้วยตนเองอย่างไร ไปติดตามบทความนี้กันเลย! เอชไอวี และ เอดส์ แตกต่างกันอย่างไร? เอชไอวี (HIV) คือเชื้อไวรัสที่ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ให้ร่างกายไม่สามารถต้านทานต่อเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ตามปกติ ซึ่งส่งผลให้มีโอกาสลุกลามไปสู่โรคฉวยโอกาสอื่น ๆ ได้นั่นเอง โดยจะแบ่งระยะของผู้ป่วยเอชไอวีออกเป็น 3 ระยะ คือ  ระยะเฉียบพลัน ระยะแรกเริ่มที่ส่งผลให้ผู้ติดเชื้อมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ โดยส่วนใหญ่มักแสดงอาการมากน้อยแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับภูมิต้านทานของแต่ละบุคคล ทั้งนี้จะอยู่ในช่วง 2-4 สัปดาห์หลังจากติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งกรณีนี้หากใช้ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง หรือ ตรวจคัดกรองในสถานพยาบาล จะช่วยให้การรักษาทันท่วงทีและรับมือได้เหมาะสมมากที่สุด ระยะสงบทางคลินิก ระยะที่ไม่แสดงอาการที่เห็นได้ชัด แต่บางคนอาจมีอาการเพียงเล็กน้อยขึ้นอยู่กับภูมิต้านทานของแต่ละคน ระยะนี้อาจใช้เวลานานถึง 10 ปี โดยเชื้อไวรัสเอชไอวีจะค่อย ๆ ทำลายระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายไปเรื่อย ๆ จนลดลงอย่างต่อเนื่อง…

5 ขั้นตอน ตรวจเอชไอวีง่ายๆ

หลายคนเข้าใจผิด คิดว่าการตรวจเอชไอวียุ่งยากและราคาแพง ทำให้ไม่กล้าไปตรวจเพราะกลัวไปต่างๆ นานา แต่จริงๆ แล้วการตรวจเอชไอวี นั้นง่ายมาก เพียงแค่เจาะเลือดและรู้ผลได้เร็ว ที่สำคัญคนไทยทุกคน ตรวจฟรีปีละ 2 ครั้ง มาดูกันดีกว่าว่าขั้นตอนการตรวจเอชไอวี นั้นเป็นอย่างไร และต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง? ใครบ้างที่ควรรับการตรวจ ? ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน ผู้ที่ใช้สารเสพติดโดยใช้เข็มร่วมกัน ผู้ที่มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ผู้ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ บุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเสี่ยงจากการปฏิบัติหน้าที่ เตรียมตัวอย่างไร ? การเจาะเลือดเพื่อ ตรวจเอชไอวีไม่ต้องอดข้าวหรือน้ำ เพียงแค่เตรียมบัตรประจำตัวประชาชน แล้วไปขอตรวจที่โรงพยาบาล คลินิกนิรนาม หรือคลินิกเอกชนเฉพาะทาง หลังจากมีความเสี่ยงมาประมาณ 2-4 สัปดาห์ รับคำปรึกษา เมื่อติดต่อเรียบร้อย ผู้เข้ารับการตรวจจะได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อพูดคุย ประเมินความเสี่ยง และเซ็นชื่อในใบยินยอมเพื่อ ตรวจเอชไอวี โดยส่วนมากแล้วมักใช้เวลา ไม่เกิน 30 นาที เจาะเลือด เมื่อได้รับคำปรึกษาแล้ว จึงเจาะเลือดเพื่อตรวจหาเชื้อเอชไอวี ซึ่งสามารถรู้ผลได้ภายในวันเดียว (ทั้งนี้ระยะเวลาแจ้งผลขึ้นอยู่กับนโยบายการบริการของสถานพยาบาลนั้นๆ กรุณาสอบถามข้อมูลก่อนเข้ารับบริการ) ฟังผล ผลเลือดเป็นลบ หรือ non-reactive แสดงว่าผู้เข้ารับการตรวจไม่มีเชื้อ…

เราควรตรวจเอชไอวีบ่อยแค่ไหน?

เราควรตรวจเอชไอวีบ่อยแค่ไหน?

เอชไอวีเป็นโรคหลักๆที่ แพร่ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ฉะนั้นถ้าจะประเมินว่าควรตรวจบ่อยแค่ไหน ให้ประเมินจากพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของแต่ละคนจะดีที่สุด เพราะเอชไอวีไม่ใช่โรคที่อยู่ ๆ จะติดมาเลยเพียงแค่สัมผัสร่างกายคนอื่น แต่ช่องทางการติดจะมาจาก เพศสัมพันธ์ที่ไม่ใช้ถุงยางอนามัย และการใช้เข็มฉีดยาซ้ำเป็นหลัก ช่องทางอื่นจะมาจากการที่สารคัดหลั่งใด ๆ เข้าสู่ร่างกายผ่านแผลสดขนาดใหญ่ หรือการรับเลือดของผู้มีเชื้อ แต่สองช่องทางนี้จะมีโอกาสได้น้อยมาก ทำให้เพศสัมพันธ์ยังเป็นช่องทางหลักของการแพร่เชื้อเอชไอวี ฉะนั้นหากใครที่ไม่ได้มีเพศสัมพันธ์บ่อยมากนัก หรือมีกับคน ๆ เดียวที่คุ้นเคยกันดี ก็ไม่มีความจำเป็นต้องตรวจเอชไอวีมากนัก อาจจะตรวจแค่ครึ่งปีครั้ง หรือปีละครั้งเลยก็ได้ เพราะถือว่าไม่ได้มีความเสี่ยงรับเชื้อ แต่สำหรับคนที่มีเพศสัมพันธ์บ่อยกับคนที่ไม่รู้สถานะผลเลือด ควรเข้าตรวจเอชไอวีเพื่อรับยา PrEP ไปทานเพื่อป้องกันเอชไอวีจะดีที่สุด เพราะจะได้ไม่ต้องตรวจเอชไอวีบ่อยด้วย ที่ต้องตรวจจะมีแค่ช่วงก่อนรับยาไปทานและหลังทานยาครบในครั้งที่ 1 หรือ 2 เท่านั้น หลังจากครั้งที่ 3 เป็นต้นไปแพทย์อาจตัดสินใจจ่ายยาได้เลยโดยที่ไม่ต้องผ่านการตรวจเลือดการตรวจเอชไอวีถือเป็นเรื่องดีเพราะหากตรวจพบจะได้เข้าสู่กระบวนการรักษาได้ทันที แต่ถ้าเป็นไปได้ให้ป้องกันตัวเองด้วยยา PrEP ก่อนติดเชื้อแต่แรกจะดีกว่า เพราะการป้องกันโรคย่อมดีกว่าการรักษาเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของเอชไอวีที่ไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ เมื่อไรที่เราควรไปตรวจ เอชไอวี? เอชไอวีถือเป็นโรคที่ไม่ได้ติดง่ายมากนัก เพราะมีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลต่อโอกาสการติดเชื้อของแต่ละคน เช่น ปริมาณของเชื้อต้นทาง ช่องทางการรับเชื้อ สภาพแวดล้อมที่เชื้อสามารถอยู่ได้ ฯลฯ ฉะนั้นหากจะประเมินว่าควรไปตรวจเอชไอวีหรือไม่ ให้ประเมินจากความเสี่ยงตนอาจได้รับมาก่อนหน้าดีกว่า เช่น ความเสี่ยงจากเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัย…