BeefHunt พื้นที่ปลอดภัยสำหรับการหาคู่ และสร้างมิตรภาพ

BeefHunt พื้นที่การหาคู่และสร้างมิตรภาพ

ในยุคที่เทคโนโลยีและสังคมเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การมีพื้นที่ปลอดภัยสำหรับชายรักชาย เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้พวกเขาสามารถค้นพบและสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ทั้งในด้านมิตรภาพและความรัก BeefHunt เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่เกิดขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการนี้ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างพื้นที่ที่ปลอดภัยและน่าเชื่อถือสำหรับการเดทและการสร้างมิตรภาพสำหรับชายรักชาย

sisterhood แอปพลิเคชันสำหรับผู้หญิงข้ามเพศ

sisterhood แอปพลิเคชันสำหรับผู้หญิงข้ามเพศ

กรุงเทพฯ ประเทศไทย – 25 มกราคม 2567 แอปพลิเคชัน sisterhood เปิดตัวอย่างเป็นทางการในประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดย มูลนิธิเพื่อรัก (Love Foundation) ภายใต้การสนับสนุนจาก GILEAD แอปพลิเคชันนี้มุ่งเป้าไปที่การสร้างชุมชนที่ปลอดภัยและสนับสนุนสำหรับหญิงข้ามเพศและ LGBTQIANs+ ทุกคนในประเทศไทย การเปิดตัวของแอปพลิเคชันออนไลน์สำหรับหญิงข้ามเพศโดยเฉพาะ ซึ่งมี คุณมิเรียม อตโตะ อุปทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย, นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, Gilead Vice President ร่วมแสดงความยินดีอย่างสุดซึ้งในโอกาสนี้ นอกจากนี้ยังมีตัวแทนจากองค์กรต่างๆ ที่ทำงานด้านความหลากหลายข้ามเพศเข้าร่วมงานมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ทีมมิสทิฟฟานี่ยูนิเวิร์ส, ทีม Miss Fabulous Thailand, มูลนิธิฟ้าสีรุ้ง, แทนเจอรีนคลินิก แอปพลิเคชัน sisterhood นำเสนอฟีเจอร์ที่หลากหลาย แอปพลิเคชันนี้เกิดขึ้นจากความเข้มแข็ง และความประทับใจต่อความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย ทีมงานผู้พัฒนาแอปพลิเคชันมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างพื้นที่ที่ปลอดภัย และสนับสนุนสำหรับชุมชนหญิงข้ามเพศ และ LGBTQIANs+ ที่อยู่ในทุกมุมของประเทศไทย ประโยชน์ของแอปพลิเคชัน sisterhood แอปพลิเคชัน sisterhoodสามารถให้ประโยชน์แก่หญิงข้ามเพศและ LGBTQIANs+…

ไวรัสตับอักเสบซี มียารักษาหายขาดแล้วนะ

ไวรัสตับอักเสบซี มียารักษาหายขาดแล้วนะ

ปัจจุบัน ไวรัสตับอักเสบซี สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยยา ซึ่งสร้างความหวังให้กับผู้คนนับล้านทั่วโลก ความก้าวหน้าล่าสุดของการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ได้ปฏิวัติรูปแบบการรักษาด้วยการใช้โปรแกรมที่มีประสิทธิภาพและยอมรับได้ดี ยาต้านไวรัส (DAA) ที่ออกฤทธิ์โดยตรงเหล่านี้มุ่งเป้าไปที่ ไวรัสตับอักเสบซี ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อและกำจัดการติดเชื้อในร่างกาย ระยะเวลาในการรักษามักจะอยู่ระหว่าง 8-12 สัปดาห์ขึ้นอยู่กับจีโนไทป์เฉพาะของไวรัสและสุขภาพส่วนบุคคลของผู้ป่วย อัตราในการรักษาหายขาดสูงมากถึง 95% และมีผลข้างเคียงน้อยมาก ความก้าวหน้าในการรักษาด้วยยาไวรัสตับอักเสบซีนี้เป็นก้าวสำคัญในด้านสาธารณสุข ทำให้ผู้ติดเชื้อสามารถกำจัดไวรัสและลดภาระของภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับตับ เช่น โรคตับแข็ง และโรคมะเร็งตับได้

การตีตรา โรคติดต่อทางเพศ

การตีตรา โรคติดต่อทางเพศ

การตีตรา เกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นปัญหาสังคมที่แพร่หลายและมีผลกระทบสําคัญ มุมมองเชิงลบและการตัดสินที่เกี่ยวข้องกับโรคติดต่อทางเพศ ส่งเสริมความหวาดกลัว ความอับอาย และไม่กล้าเปิดเผยกับแพทย์เพื่อเข้าสู่การตรวจวินิจฉัย การตีตรา อาจทําให้หลายคนหลีกเลี่ยงที่จะเข้าสู่กระบวนการรักษา ซึ่งนําไปสู่การแพร่กระจายของการติดเชื้อ และภาวะแทรกซ้อนด้านสุขภาพในระยะยาว นอกจากนี้ การเลือกปฏิบัติสร้างปัญหาทางอารมณ์ และความโดดเดี่ยวให้กับผู้ป่วยโรคติดต่อทางเพศ และกระทบต่อผลลัพธ์ด้านสาธารณสุขในการดูแลสุขภาพ การเอาชนะการตีตราเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต้องได้รับการศึกษา ความเข้าใจ และส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่สนับสนุน และไม่ตัดสิน ส่งเสริมการให้ความรู้สาธารณะ การเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้อง และการดูแลสุขภาพทางเพศที่ครอบคลุม

ภาวะแทรกซ้อน ของผู้ติด HIV

ภาวะแทรกซ้อน ของผู้ติด HIV

การติดเชื้อ HIV หรือ Human Immunodeficiency Virus เป็นไวรัสที่มุ่งเข้าโจมตีระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมนุษย์ โดยเฉพาะเซลล์ CD4 (ซีดีโฟร์) ซึ่งมีความสำคัญต่อการต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆ หากปล่อยไว้โดยไม่รักษา เชื้อเอชไอวี สามารถพัฒนาไปสู่ระยะที่สูงขึ้นเรื่อยๆ จนเข้าสู่ระยะสุดท้าย ซึ่งเรียกว่าโรคเอดส์ (Acquired Immunodeficiency Syndrome) โรคเอดส์ เป็นลักษณะอาการที่เกิดขึ้นจากการไม่มีอยู่ของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ผู้ติด HIV ติดโรคอื่นๆ ได้ง่าย เรียกว่า “โรคฉวยโอกาส” นั่นเอง

เอดส์ระยะที่ 2 เป็นอย่างไร

เอดส์ระยะที่ 2 เป็นอย่างไร

เอดส์ระยะที่ 2 หลายคนอาจเข้าใจว่า การติดเชื้อเอชไอวี (HIV) และโรคเอดส์ (AIDS) เป็นโรคเดียวกัน ดังนั้นบ่อยครั้ง จะใช้คำว่า “เอดส์” แทน “การติดเชื้อเอชไอวี” และเมื่ออ้างถึงระยะของโรค เช่น เอดส์ระยะที่ 1 เอดส์ระยะที่ 2 และเอดส์ระยะสุดท้าย แต่ในความจริงแล้ว การติดเชื้อเอชไอวี ถูกแบ่งออกเป็น 3 ระยะด้วยกัน หากผู้ติดเชื้อเอชไอวีในระยะที่ 2 มีการรับประทานยาต้านไวรัสอย่างต่อเนื่อง ดูแลตัวเองอย่างดี เชื้อเอชไอวีจะไม่พัฒนาเข้าสู่ระยะที่ 3 หรือระยะเอดส์ กล่าวคือผู้ติดเชื้อเอชไอวีจะไม่กลายเป็นเอดส์ทุกคน และสามารถมีชีวิตอยู่ได้เหมือนกับคนปกติทั่วไปโดยไม่เจ็บป่วยจากโรค

การรักษา HIV ด้วยยาต้านไวรัส

การรักษา HIV ด้วยยาต้านไวรัส

การรักษาด้วยยาต้านไวรัส (ART) เป็นการรักษาโรคเอดส์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาร่วมกันเพื่อชะลอการลุกลามของไวรัส บทความนี้อธิบายว่า ART คืออะไร ทำงานอย่างไร และประโยชน์ของมัน

PEP ยาป้องกันเอชไอวี หลัง สัมผัสเชื้อ ทานภายใน 72 ชั่วโมง

PEP ยาป้องกันเอชไอวี “หลัง” สัมผัสเชื้อ ทานภายใน 72 ชั่วโมง

PEP (Post-Exposure Prophylaxis) คือ ยาต้านไวรัสในกรณีฉุกเฉิน เป็นยาป้องกันเอชไอวี “หลัง” สัมผัสเชื้อ ใช้กับบุคคลที่เสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อเอชไอวี โดยจะต้องรับประทานยาให้เร็วที่สุด ภายใน 72 ชั่วโมง หลังมีความเสี่ยง และจะต้องรับประทานต่อเนื่องติดต่อกันนาน 28 วัน PEP ทำงานอย่างไร? ยา PEP ทำงานโดยหยุดไม่ให้ไวรัสเอชไอวีเพิ่มจำนวนในร่างกาย PEP ทำงานเพื่อป้องกันไม่ให้ไวรัสแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย PEP มีประสิทธิภาพมากที่สุดเมื่อเริ่มให้เร็วที่สุดหลังจากได้รับเชื้อไวรัส ขอแนะนำให้เริ่มยา PEP ภายใน 72 ชั่วโมงหลังมีความเสี่ยง ใครบ้างควรใช้ยา PEP? PEP ไม่ใช่วิธีการหลักในการป้องกันเอชไอวี บุคคลที่มีความเสี่ยงต่อเชื้อเอชไอวีควรใช้ถุงยางอนามัยและมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อไวรัสเอชไอวี ผลข้างเคียงของยา PEP ยา PEP อาจมีผลข้างเคียง ได้แก่ อาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง อ่อนเพลีย และปวดศีรษะ ผลข้างเคียงเหล่านี้โดยทั่วไปไม่รุนแรงและมักจะหายไปภายใน 1 สัปดาห์ แต่หากมีอาการนานมากกว่านั้น แนะนำให้ควรรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุดเพื่อจะได้รับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ จะรับ PEP…

ความเครียดทางอารมณ์ ในผู้ติดเชื้อเอชไอวี

ความเครียดทางอารมณ์ ในผู้ติดเชื้อเอชไอวี

เอชไอวีและ ความเครียดทางอารมณ์ มีความเชื่อมโยงกันอย่างลึกซึ้ง โดยผู้ที่มีเชื้อจะมีความเสี่ยงสูงต่ออาการที่จะนำความเครียดทางอารมณ์มาสู่สภาพจิตใจ บทความนี้ จะอธิบายถึงความเสียหายในการมีความเครียดทางอารมณ์ที่มาพร้อมกับเชื้อไวรัสเอชไอวี และกล่าวถึงความสำคัญ ของการขจัดสิ่งนี้ออกไป เพื่อปรับปรุงสุขภาพจิตของผู้ที่มีเชื้อให้ดีขึ้น

จะทำอย่างไร ถ้ามีเซ็กส์กับ คนติดเชื้อ HIV

จะทำอย่างไร ถ้ามีเซ็กส์กับ คนติดเชื้อ HIV

เรื่องเซ็กส์เป็นเรื่องธรรมชาติที่คนทุกคนจะมีได้ แต่จะทำอย่างไรหากคุณมีเพศสัมพันธ์กับ คนติดเชื้อ HIV เพราะคู่นอนที่เรารู้จักก็อาจจะไม่ได้ซื่อสัตย์กับเรา ไม่ได้บอกความจริงเกี่ยวกับสถานะเอชไอวีของตัวเอง หรือบางคู่เป็นคนที่มีความเสี่ยงบ่อยอยู่แล้ว ทำให้เราไม่แน่ใจว่า ได้พลั้งเผลอมีอะไรกับ คนติดเชื้อ HIV ไปหรือไม่ วันนี้ เรามีคำแนะนำหากคุณมีความเสี่ยงมาฝากกันครับ ทำอย่างไร ถ้าเผลอมีเซ็กส์กับ คนติดเชื้อ HIV หากรู้แน่แล้ว หรือสงสัยว่าคู่นอนเป็นคนที่มีเชื้อเอชไอวี คุณควรพิจารณาว่า ขณะที่มีเพศสัมพันธ์ได้ทำการป้องกันตัวเองด้วยถุงยางอนามัยหรือไม่ หรือก่อนหน้านี้คุณเองได้มีการรับประทานยาเพร็พ (PrEP) ที่เป็นยาต้านไวรัสเอชไอวีก่อนมีความเสี่ยงไว้ก่อนไหม เพราะปัจจัยเหล่านี้ มีผลต่อการวินิจฉัยของแพทย์ และช่วยลดเปอร์เซนต์ความเสี่ยงที่จะติดเชื้อลงไปได้มาก แต่หากคุณไม่ได้มีการป้องกันตัวเองด้วยวิธีใดเลย คุณควรปฏิบัติดังต่อไปนี้ รีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อขอรับบริการยาเป๊ป ยาเป๊ป (PEP) เป็นยาต้านฉุกเฉิน สำหรับคนที่มีความเสี่ยงต่อเอชไอวี ในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง ในผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัยกับคนที่มีเชื้อเอชไอวีหรือถุงยางอนามัยแตกรั่วในระหว่างที่มีเพศสัมพันธ์ รวมไปถึง ผู้ที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น ผู้ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ ถูกข่มขืน หรือถูกอุบัติเหตุเข็มทิ่มตำในสถานพยาบาล หากเข้าข่ายดังที่กล่าวมานี้ ควรติดต่อสถานพยาบาลที่ให้บริการยาเป๊ป (PEP) โดยเร็ว ซึ่งการรับประทานยาเป๊ปจะใช้เวลาประมาณ 28 วัน หรือตามแพทย์สั่งจ่ายยาให้ โดยการทำงานของยาเป๊ป คือ…