โรคฝีดาษลิง รู้ก่อนป้องกันก่อน

โรคฝีดาษลิง โรคฝีดาษวานร  หรือไข้ทรพิษลิง  (Monkeypox)  เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน ซึ่งเกิดจากไวรัสในตระกูลเดียวกันกับไวรัสโรคฝีดาษ หรือไข้ทรพิษ พบในสัตว์ ตระกูลลิง และสัตว์ฟันแทะ ปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีการรักษาหรือมีวัคซีนป้องกันโดยเฉพาะ แต่สามารถควบคุมการระบาดได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษ ที่สามารถช่วยป้องกันโรคฝีดาษลิงได้ประมาณ 85% ซึ่งการแพร่ระบาดของโลกฝีดาษ พบผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ  โดยผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ ร้อยละ 99 % เป็นผู้ชาย โดยติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ทำให้หลายคนให้ความสนใจและวิตกกังวลเป็นอย่างมาก

ตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพื่อสุขภาพเพศที่ปลอดภัย

การรักษาสุขภาพเพศที่ดี และปลอดภัยเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับทุกคน เพราะโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สามารถก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงต่อสุขภาพได้ ดังนั้น การตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่ช่วยให้เรารับรู้โรคในระยะเริ่มต้น และรักษาโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ไวรัสตับอักเสบบี : สาเหตุ อาการ การรักษา และการป้องกัน

ไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) เป็นหนึ่งในโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบไตในมนุษย์อย่างสำคัญ โรคนี้เกิดจากไวรัสตับอักเสบบีที่เข้าไปทำลายเซลล์ตับของเรา โดยมักจะถูกติดต่อผ่านทางเลือด หรือน้ำลายที่มีเชื้อจากบุคคลที่ติดเชื้อ สำหรับผู้ที่ติดเชื้อไวรัสนี้ มีโอกาสที่จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคตับเรื้อรังอย่างไร้ความรู้สึกมากขึ้น เราจึงจำเป็นต้องทราบข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุ อาการ การรักษา และการป้องกันของโรคนี้อย่างชัดเจน

โรคหูดหงอนไก่ หูดในที่ลับที่ป้องกันได้

โรคหูดหงอนไก่ เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์  เกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย เช่น การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัย  สามารถพบได้ทั้งในชายและหญิง แต่จะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยผ่านการสัมผัสโดยตรงกับผิวหนังหรือเยื่อบุผนังภายในของผู้ที่เป็นโรคนี้ เช่น การมีเพศสัมพันธ์ หรือจากแม่สู่ลูกผ่านการคลอดแบบธรรมชาติ โรคนี้ทำให้เกิดหูดบริเวณอวัยะเพศ , ขาหนีบ, หรือทวารหนัก เป็นต้น

หนองในเพศชาย อันตรายแค่ไหน?

แม้ว่าการมีเซ็กส์ มันคือเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ทุกคน แต่การมีแล้วไม่ป้องกันตนเองจนเกิดโรค ก็ไม่ใช่สิ่งที่ทุกคนควรกระทำหรอกนะครับ โดยเฉพาะผู้ชายที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ หรือไม่ชอบสวมถุงยางอนามัยเวลามีเซ็กส์นั่นเอง มันมีโรคหนึ่งที่ชื่อว่า หนองในเพศชาย ที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ยอดฮิตที่เกิดขึ้นได้ทุกเพศ ทุกวัย และพบมากในกลุ่มวัยรุ่นหรือวัยทำงานอายุระหว่าง 15-25 ปี ที่มีโอกาสนัดเจอกับคนแปลกหน้าในโลกออนไลน์เพิ่มมากขึ้น และมีความเสี่ยงที่จะมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย หนองในเพศชาย คืออะไร หนองใน คือ การติดเชื้อที่เกิดจากแบคทีเรีย Neisseria Gonorrhoeae ที่พบได้ในน้ำอสุจิและสารหล่อลื่นในช่องคลอด ซึ่งสามารถติดต่อได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิงผ่านทางเพศสัมพันธ์ โรคหนองในเพศชาย มักส่งผลกระทบต่อท่อปัสสาวะ ทวารหนัก หรือลำคอ โดยมักแพร่กระจายระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทางปาก หรือทางทวารหนัก กลุ่มที่มีความเสี่ยงจะเป็นโรคนี้ เช่น อาการของโรค หนองในเพศชาย ส่วนใหญ่ การติดเชื้อหนองใน มักไม่แสดงอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ผู้ชายที่เป็นโรคนี้จึงไม่รู้ตัวและกลายเป็นพาหะนำโรคไปยังคู่นอนของตัวเอง ซึ่งอาการอาจปรากฎได้หลังมีการติดเชื้อประมาณ 2-30 วัน ดังนี้ จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น หนองในเพศชาย การที่จะรู้ได้ว่าคุณเป็นหนองในย แล้วนั้นจะต้องทำการปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อทำการวินิจฉัยอย่างละเอียด เนื่องจากมากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ชายที่ติดเชื้อหนองใน จะไม่แสดงอาการ แต่อาจมีภาวะแทรกซ้อนของโรคตามมาหากไม่ได้รับการรักษา ดังนั้น หากคุณหรือคู่นอน มีอาการผิดปกติที่สงสัยว่าจะติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์… Continue reading หนองในเพศชาย อันตรายแค่ไหน?

เริม..โรคที่ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด

เริม เป็นโรคติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Herpes simplex virus (ไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ หรือ HSV) พบได้บ่อยบริเวณริมฝีปากและอวัยวะเพศ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ อาการของ เริม อาการของเริม จะเริ่มจากมีตุ่มน้ำใสขึ้นในบริเวณที่ติดเชื้อ หลังจากนั้นจะแตกออก แล้วเกิดเป็นแผล มีอาการปวดแสบปวดร้อนร่วมด้วย แผลจะค่อยๆ แห้ง ตกสะเก็ดและหายในระยะเวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ ในบางรายอาจจะมีอาการไข้  ปวดศีรษะ ปวดตามตัว หรือมีต่อมน้ำเหลืองโตร่วมด้วย ผู้ป่วยที่ติดเชื้อครั้งแรกจะค่อนข้างอาการหนักและรุนแรง ทำให้ต้องใช้เวลาในการรักษานานกว่าผู้ป่วยที่เคยเป็น และมีเชื้ออยู่แล้ว ซึ่งจะมีอาการที่เบาและรักษาได้เร็วกว่า เริม ติดต่อกันได้อย่างไร ? เริม สามารถติดต่อกันได้ผ่านการสัมผัสเชื้อโดยตรง จากบริเวณบาดแผล จากน้ำในตุ่มพอง และน้ำลาย การมีเพศสัมพันธ์หรือกิจกรรมทางเพศ นอกจากนั้นการใช้ของอื่นๆ เช่น แก้วน้ำ ผ้าขนหนู ช้อนส้อม ร่วมกับผู้ป่วยที่เป็นเริม ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ติดเชื้อได้เช่นกัน สาเหตุหลักที่ทำให้เริมกลับมาเป็นซ้ำ หากเคยติดเชื้อเริมมาแล้ว สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีก สาเหตุหลักๆมาจากร่างกายอ่อนแอ… Continue reading เริม..โรคที่ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด

หนองใน แท้กับเทียม แยกอย่างไร

หลายคนรู้จักโรค หนองใน กันอยู่แล้ว แต่ก็ยังมีความเข้าใจผิด ระหว่างชนิดของหนองใน ว่าเป็นหนองในแท้ หรือหนองในเทียม เพราะทั้งสองชนิดนี้มีอาการและความคล้ายคลึงกันอย่างมาก แต่สิ่งที่เหมือนกัน คือ หนองในเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างแน่แท้ โดยเฉพาะคนที่มีเซ็กส์แบบไม่สวมถุงยางอนามัยทุกครั้ง นอกจากเชื้อไวรัสเอชไอวีที่มีความเสี่ยงสูงแล้ว โอกาสในการติดกามโรค เช่น หนองในแท้ หรือหนองในเทียมก็มีได้มากกว่าด้วย ประเภทของโรค หนองใน หนองในแท้ ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการ เกิดจากการติดเชื้อ Neisseria Gonorrhoeae (ไนอีสซีเรีย โกโนเรีย) มักแสดงอาการหลังมีความเสี่ยงตั้งแต่ 2-10 วันขึ้นไป หนองในเทียม หรือ Non-Gonococal Urethritis เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ เพศชายจำนวน 30% และเพศหญิงถึง 70% มักไม่แสดงอาการของหนองในเทียมเลย หรือเรียกว่าอยู่ในสภาวะ “การติดเชื้อหนองในที่ไม่มีอาการ” ทำให้ไม่ได้รับการรักษา และยังแพร่เชื้อไปสู่คู่นอนได้ทันที กว่าจะเริ่มมีอาการมักผ่านระยะเวลาไป 2-16 สัปดาห์หลังมีความเสี่ยง อาการของ หนองใน อาการของหนองในแท้ เพศชาย เพศหญิง อาการของหนองในเทียม เพศชาย เพศหญิง… Continue reading หนองใน แท้กับเทียม แยกอย่างไร

คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับการตรวจเอชไอวี

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่ยังไม่สามารถคิดค้นวิธีการรักษาให้หายขาดได้ นั่นก็คือ เอชไอวี (HIV : Human Immunodeficiency Virus) ที่ส่งผลต่อภูมิคุ้มกันของร่างกายผู้ติดเชื้อลดลง ทำให้ไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกายได้ เป็นสาเหตุของการเกิดโรคฉวยโอกาสต่าง ๆ ได้ง่ายมากกว่าปกติ อีกทั้งหากไม่เข้ารับการรักษาอย่างรวดเร็วแล้ว จะส่งผลต่อร่างกายทำให้เข้าสู่ระยะรุนแรงที่หลายคนรู้จักกันดีในชื่อว่า ระยะเอดส์ นั่นเอง บทความนี้เราได้รวบรวมคำตอบของทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับ “การตรวจเอชไอวี” ที่คัดสรรมาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแล้วว่า พบคำถามเหล่านี้บ่อยครั้งจากหลากหลายแหล่ง รวมไปถึงความเข้าใจผิด ๆ ที่ต้องการให้ผู้คนทั่วไปเข้าใจไปในทิศทางถูกต้อง ทำไมต้องตรวจเอชไอวี ? เอชไอวี หากทราบสถานะได้เร็วมากเท่าไหร่ โอกาสในการรักษาไม่ให้ลุกลามไปสู่ระยะรุนแรงก็มากด้วยเช่นกัน ดังนั้นการตรวจเอชไอวี จึงเป็นทางเลือกในการป้องกันที่สำคัญไม่แพ้การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ทั้งยังเป็นการเพิ่มการตระหนักถึงการดูแลตนเองและคู่ของคุณ ดังนั้นจึงทำให้การตรวจเอชไอวี เป็นสิ่งที่จำเป็นและควรทำอย่างยิ่งในทุก ๆ ปีเช่นเดียวกับการตรวจสุขภาพประจำปี เมื่อไหร่ที่ควรเข้ารับการตรวจเอชไอวี? การตรวจเอชไอวี เป็นเรื่องใหญ่สำหรับใครหลายคน ด้วยความที่ว่าไม่มั่นใจว่าตนเองนั้นมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือไม่ ตลอดจนมองว่าการตรวจเอชไอวี ควรเข้ารับการตรวจเมื่อจำเป็นเท่านั้น อย่างไรก็ตามหากคุณคือหนึ่งในผู้ที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงดังต่อไปนี้ ควรเข้ารับการตรวจพร้อมทั้งปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเร็วที่สุด การตรวจเอชไอวี ใช้เวลานานหรือไม่ ? ระยะเวลาในการตรวจเอชไอวี ขึ้นอยู่กับวิธีการตรวจที่เลือกใช้ หากเป็นการตรวจโดยสถานพยาบาลทั่วไปด้วยวิธีการตรวจที่นิยมใช้หลัก ๆ ส่วนใหญ่แล้วจะใช้ระยะเวลาทราบผลได้เร็วที่สุดใน… Continue reading คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับการตรวจเอชไอวี

วิธีป้องกัน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

แน่นอนว่า เซ็กส์ไม่ใช่เรื่องผิดแปลกอะไร เพราะมันเป็นเรื่องธรรมชาติที่มนุษย์ต้องมี แต่ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มักจะเกิดขึ้นกับคนที่ไม่ได้ป้องกันตัวเอง หรือมีการพลั้งเผลอไปโดยไม่ได้ตั้งใจ เราทุกคนจึงควรเรียนรู้วิธีการที่จะมีเซ็กส์อย่างปลอดภัย และห่างไกลจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วย เพราะไม่ใช่เพื่อใคร แต่เพื่อตัวคุณเองทั้งนั้น วันนี้ ลองมาอ่านบทความนี้กันดีกว่าว่าคุณจะสามารถเซฟตัวเองไม่ให้เข้าใกล้โรคร้ายได้อย่างไรบ้าง โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีอะไรบ้าง โดยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ถูกพบมากที่สุด ได้แก่ เอชไอวี เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ Human Immunodeficiency Virus (ฮิวแมนอิมมิวโนเดฟีเชียนซีไวรัส) เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง จนไม่อาจต่อสู้กับโรคร้ายต่างๆ ที่เกิดขึ้น มีระยะฟักตัวตั้งแต่ 2-6 สัปดาห์ขึ้นไปถึงจะตรวจพบเชื้อ หรือขึ้นอยู่กับวิธีการตรวจที่เลือกด้วย ปัจจุบันสามารถตรวจแบบแนท (NAT) ที่หลังมีความเสี่ยงประมาณ 5-7 วัน โรคหนองในแท้ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Neisseria Gonorrhoeae (ไนซ์ซีเรีย โกโนร์เรีย) อาจมีอาการเกิดขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์หลังจากติดเชื้อ ในเพศหญิง จะเกิดอาการตกขาวผิดปกติ มีเลือดออกบริเวณช่องคลอด รู้สึกแสบเวลาปัสสาวะ ส่วนในเพศชาย จะมีหนองสีเขียวหรือเหลืองไหลออกมาจากปลายอวัยวะเพศ ลูกอัณฑะบวม และเจ็บเวลาปัสสาวะ เป็นต้น โรคหนองในเทียม เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ… Continue reading วิธีป้องกัน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคซิฟิลิส ติดง่าย แต่ป้องกันได้

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คือ กลุ่มโรคที่เกิดจากการติดต่อผ่านทางเพศกับคนที่เป็นโรค หรือคนที่ติดเชื้อ ทั้งจากการร่วมเพศทางช่องคลอด ทางปาก หรือทวารหนัก และสามารถติดต่อจากแม่สู่ทารกในครรภ์ ผ่านการถ่ายโอนเลือด หรือการใช้เข็มร่วมกันได้เหมือนกัน โรคซิฟิลิส (Syphilis) คือ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ทรีโพนีมาพาลลิดัม (Treponema pallidum)  โดยปกติจะติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ทำให้เกิดผื่นหรือแผลตามผิวหนัง และ อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงขึ้นหากไม่รักษา โดยทั่วไปโรคซิฟิลิสจะเริ่มจากบาดแผล ซึ่งมักพบบริเวณอวัยวะเพศ ปาก หรือทวารหนัก ลักษณะของแผลจะเป็นแผลที่ไม่รู้สึกเจ็บ (Painless sore) หรือเรียกว่าแผลริมแข็ง (Chancre) การแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่นสามารถเกิดได้ผ่านทางการสัมผัสบาดแผลนี้กับผิวหนังหรือเยื่อบุต่างๆ ระยะฟักตัวของโรค หลังจากที่ได้รับเชื้อ ก็มักจะแสดงอาการภายใน 10 – 90 วัน สาเหตุของโรคซิฟิลิส โรคซิฟิลิสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า ทรีโพนีมาพาลลิดัม (Treponema Pallidum) จากการสัมผัสถูกเชื้อโดยตรงจากแผลของผู้ป่วย และระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ที่มักสุ่มเสี่ยงกับการติดเชื้อได้มากที่สุด จึงมักถูกจัดเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้การใช้เข็มฉีดยารวมกับผู้อื่น การรับเลือดจากผู้อื่น รวมไปถึงหญิงตั้งครรภ์ที่มีเชื้อสามารถส่งผ่านเชื้อไปยังทารกในครรภ์ได้เช่นกัน ในช่วงระยะที่ 1-2 ของการติดเชื้อจะสามารถแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่นได้ง่ายมากที่สุด อย่างไรก็ตามการใช้สิ่งของร่วมกันในบางกรณีที่ไม่ได้สัมผัสกับเชื้อโดยตรงอาจไม่เกิดการแพร่กระจายของเชื้อ เช่น การใช้ห้องน้ำ… Continue reading โรคซิฟิลิส ติดง่าย แต่ป้องกันได้