ตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพื่อสุขภาพเพศที่ปลอดภัย

การรักษาสุขภาพเพศที่ดี และปลอดภัยเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับทุกคน เพราะโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สามารถก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงต่อสุขภาพได้ ดังนั้น การตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่ช่วยให้เรารับรู้โรคในระยะเริ่มต้น และรักษาโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพื่อสุขภาพเพศที่ปลอดภัย

การตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

การตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์  ถือเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดโรคทางเพศสัมพันธ์ และรวมไปถึงตรวจก่อนแต่งงาน หรือตรวจก่อนการตั้งครรภ์ เพื่อลดการแพร่กระจ่ายเชื้อโรคแล้วนั้น ซึ่งในบางโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ไม่แสดงอาการ โดยเฉพาะผู้หญิง เช่น เชื้อเอชไอวี ซึ่งกว่าผู้ติดเชื้อจะทราบอาการก็อยู่ในระยะรุนแรงที่ยากต่อการดูแลรักษา อีกทั้งโรคติดต่อบางโรคยังเป็นสาเหตุโรคมะเร็ง เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งทวารหนัก เกิดจากการติดเชื้อ HPV บางสายพันธ์ และมะเร็ง ตับ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และเชื้อไวรัสตับอักเสบซี

ดังนั้นเมื่อมีความเสี่ยง ต่อการติดเชื้อโรคทางเพศสัมพันธ์ อาจมีอาการแสดงบางอย่าง เช่น เจ็บปวดอวัยวะเพศ คัน มีผื่น ตุ่ม แผล บริเวณอวัยวะเพศ เป็นฝี มีน้ำหนองไหล และในกรณีผู้หญิงหากมีตกขาวสีเหลือง ตกขาวมีกลิ่นเหม็น ก็ควรงดการมีเพศสัมพันธ์เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ และควรรีบไปพบแพทย์

การตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีวิธีอะไรบ้าง?

การตรวจทำได้หลายวิธี แพทย์จะเลือกการตรวจที่เหมาะสมที่สุดจากการซักประวัติ ซึ่งวิธีตรวจหลักๆ จะมีดังนี้

  • ตรวจเลือด หรือปัสสาวะ เป็นการตรวจที่นิยิมที่สุด เพราะสามารถตรวจได้หลายโรค เช่น เชื้อเอชไอวี เริม หนองใน ซิฟิลิส และไวรัสตับอักเสบ
  • ตรวจภายใน (Pap smears) ปกติแล้วการตรวจด้วยวิธีแปป สเมียร์ เป็นการตรวจเพื่อสังเกตอาการเริ่มต้นของมะเร็งปากมดลูก แต่มะเร็งปากมดลูกก็อาจเกิดจากการติดเชื้อ HPV เมื่อมีเพศสัมพันธ์ได้เช่นกัน
  • ตรวจสารคัดหลั่ง ในบางกรณีแพทย์อาจใช้การเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งจากอวัยวะเพศ ปากมดลูก ทางเดินปัสสาวะ หรือทวารหนัก เพื่อนำไปตรวจหาเชื้อได้
  • ตรวจร่างกาย ในกรณีที่อาการเริ่มแสดงออกมาให้เห็นแล้ว การตรวจร่างกายก็สามารถใช้ประกอบการวินิจฉัยได้ เช่น เริม หูด ซิฟิลิส เป็นต้น

การตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ตรวจโรคอะไรบ้าง?

  1. ตรวจหาเชื้อเอชไอวี 
  2. ตรวจไวรัสตับอักเสบบี และซี
  3. ตรวจหาเชื้อซิฟิลิส
  4. ตรวจเริม
  5. ตรวจหนองใน /หนองในเทียม
  6. ตรวจภายใน และตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (เฉพาะผู้หญิง)
ควรตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ควรตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เมื่อไหร่

ผู้ที่มีความเสี่ยง ที่ควรเข้าตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ดังนี้

  • มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน ไม่สวมถุงยางอนามัย 
  • เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ 
  • เคยมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก
  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับหญิง หรือชายขายบริการทางเพศโดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย
  • ผู้ที่มีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับเพศ หรือการสัมผัสทางเพศกับหลายๆคน 
  • ถุงยางอนามัยรั่ว ถุงยางอนามัยแตก หลุด ฉีกขาดขณะมีเพศสัมพันธ์
  • กลุ่มค้าบริการทางเพศ ควรตรวจเลือดทุก 3 เดือน
  • เคยติดเชื้อกลุ่มโรคทางเพศสัมพันธ์ หลังจากรักษาหายแล้ว ภายใน 3 เดือน ควรตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ซ้ำอีกครั้ง
  • ผู้ที่กำลังวางแผนจะแต่งงาน หรือมีบุตร ก็ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เช่นกัน เพื่อป้องกันเชื้อแพร่สู่คู่รัก และลูก

การเตรียมตัวก่อนตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

  • สามารถทานอาหารมาก่อนเข้าตรวจได้ตามปกติ
  • งดดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนตรวจสุขภาพ
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง
  • หลีกเลี่ยงการตรวจช่วงที่มีประจำเดือน ควรรอตรวจหลังจากที่ประจำเดือนหมดไปแล้วอย่างน้อย 7 วัน
  • ห้ามตรวจภายในมาก่อนในช่วง 24 ชั่วโมง เพราะอาจมีสารหรือยาไปปนเปื้อนอยู่
  • ห้ามใช้ผ้าอนามัยชนิดสอด ครีมหรือยา ที่ใช้ทางช่องคลอดอื่น ๆ อย่างน้อย 48 ชั่วโมง
  • ห้ามล้างหรือทำความสะอาดในช่องคลอดภายใน 48 ชั่วโมงก่อนมาตรวจ เพราะอาจไม่มีเซลล์เหลือให้ตรวจ
  • ห้ามมีเพศสัมพันธ์ก่อนมารับการตรวจ 48 ชั่วโมง

อ่านบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย (Safe Sex)

วิธีป้องกัน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

สำหรับบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ควรตระหนักถึงความสำคัญของการตรวจคัดกรองโรค และควรปฏิบัติตามคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์เพื่อรักษาสุขภาพเพศของตนเอง และคนรอบข้างให้มีความปลอดภัยจากโรค