PEP ยาป้องกันเอชไอวี “หลัง” สัมผัสเชื้อ ทานภายใน 72 ชั่วโมง

PEP (Post-Exposure Prophylaxis) คือ ยาต้านไวรัสในกรณีฉุกเฉิน เป็นยาป้องกันเอชไอวี “หลัง” สัมผัสเชื้อ ใช้กับบุคคลที่เสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อเอชไอวี โดยจะต้องรับประทานยาให้เร็วที่สุด ภายใน 72 ชั่วโมง หลังมีความเสี่ยง และจะต้องรับประทานต่อเนื่องติดต่อกันนาน 28 วัน PEP ทำงานอย่างไร? ยา PEP ทำงานโดยหยุดไม่ให้ไวรัสเอชไอวีเพิ่มจำนวนในร่างกาย PEP ทำงานเพื่อป้องกันไม่ให้ไวรัสแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย PEP มีประสิทธิภาพมากที่สุดเมื่อเริ่มให้เร็วที่สุดหลังจากได้รับเชื้อไวรัส ขอแนะนำให้เริ่มยา PEP ภายใน 72 ชั่วโมงหลังมีความเสี่ยง ใครบ้างควรใช้ยา PEP? PEP ไม่ใช่วิธีการหลักในการป้องกันเอชไอวี บุคคลที่มีความเสี่ยงต่อเชื้อเอชไอวีควรใช้ถุงยางอนามัยและมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อไวรัสเอชไอวี ผลข้างเคียงของยา PEP ยา PEP อาจมีผลข้างเคียง ได้แก่ อาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง อ่อนเพลีย และปวดศีรษะ ผลข้างเคียงเหล่านี้โดยทั่วไปไม่รุนแรงและมักจะหายไปภายใน 1 สัปดาห์ แต่หากมีอาการนานมากกว่านั้น แนะนำให้ควรรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุดเพื่อจะได้รับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ จะรับ PEP… Continue reading PEP ยาป้องกันเอชไอวี “หลัง” สัมผัสเชื้อ ทานภายใน 72 ชั่วโมง

ความเครียดทางอารมณ์ ในผู้ติดเชื้อเอชไอวี

เอชไอวีและ ความเครียดทางอารมณ์ มีความเชื่อมโยงกันอย่างลึกซึ้ง โดยผู้ที่มีเชื้อจะมีความเสี่ยงสูงต่ออาการที่จะนำความเครียดทางอารมณ์มาสู่สภาพจิตใจ บทความนี้ จะอธิบายถึงความเสียหายในการมีความเครียดทางอารมณ์ที่มาพร้อมกับเชื้อไวรัสเอชไอวี และกล่าวถึงความสำคัญ ของการขจัดสิ่งนี้ออกไป เพื่อปรับปรุงสุขภาพจิตของผู้ที่มีเชื้อให้ดีขึ้น

คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับการตรวจเอชไอวี

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่ยังไม่สามารถคิดค้นวิธีการรักษาให้หายขาดได้ นั่นก็คือ เอชไอวี (HIV : Human Immunodeficiency Virus) ที่ส่งผลต่อภูมิคุ้มกันของร่างกายผู้ติดเชื้อลดลง ทำให้ไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกายได้ เป็นสาเหตุของการเกิดโรคฉวยโอกาสต่าง ๆ ได้ง่ายมากกว่าปกติ อีกทั้งหากไม่เข้ารับการรักษาอย่างรวดเร็วแล้ว จะส่งผลต่อร่างกายทำให้เข้าสู่ระยะรุนแรงที่หลายคนรู้จักกันดีในชื่อว่า ระยะเอดส์ นั่นเอง บทความนี้เราได้รวบรวมคำตอบของทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับ “การตรวจเอชไอวี” ที่คัดสรรมาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแล้วว่า พบคำถามเหล่านี้บ่อยครั้งจากหลากหลายแหล่ง รวมไปถึงความเข้าใจผิด ๆ ที่ต้องการให้ผู้คนทั่วไปเข้าใจไปในทิศทางถูกต้อง ทำไมต้องตรวจเอชไอวี ? เอชไอวี หากทราบสถานะได้เร็วมากเท่าไหร่ โอกาสในการรักษาไม่ให้ลุกลามไปสู่ระยะรุนแรงก็มากด้วยเช่นกัน ดังนั้นการตรวจเอชไอวี จึงเป็นทางเลือกในการป้องกันที่สำคัญไม่แพ้การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ทั้งยังเป็นการเพิ่มการตระหนักถึงการดูแลตนเองและคู่ของคุณ ดังนั้นจึงทำให้การตรวจเอชไอวี เป็นสิ่งที่จำเป็นและควรทำอย่างยิ่งในทุก ๆ ปีเช่นเดียวกับการตรวจสุขภาพประจำปี เมื่อไหร่ที่ควรเข้ารับการตรวจเอชไอวี? การตรวจเอชไอวี เป็นเรื่องใหญ่สำหรับใครหลายคน ด้วยความที่ว่าไม่มั่นใจว่าตนเองนั้นมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือไม่ ตลอดจนมองว่าการตรวจเอชไอวี ควรเข้ารับการตรวจเมื่อจำเป็นเท่านั้น อย่างไรก็ตามหากคุณคือหนึ่งในผู้ที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงดังต่อไปนี้ ควรเข้ารับการตรวจพร้อมทั้งปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเร็วที่สุด การตรวจเอชไอวี ใช้เวลานานหรือไม่ ? ระยะเวลาในการตรวจเอชไอวี ขึ้นอยู่กับวิธีการตรวจที่เลือกใช้ หากเป็นการตรวจโดยสถานพยาบาลทั่วไปด้วยวิธีการตรวจที่นิยมใช้หลัก ๆ ส่วนใหญ่แล้วจะใช้ระยะเวลาทราบผลได้เร็วที่สุดใน… Continue reading คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับการตรวจเอชไอวี

STI คืออะไร?

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually transmitted infections; STI)  คือ การติดเชื้อจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ โดยผ่านการจูบ, การสัมผัสหรือถูอวัยวะเพศ, การมีเพศสัมพันธ์โดยใช้ปาก (การใช้ปากกับอวัยวะเพศ), การร่วมเพศ (องคชาตในช่องคลอด องคชาตในทวารหนัก), การใช้เซ็กซ์ทอย รวมถึง การติดเชื้อจากแม่ไปสู่ลูกระหว่างตั้งครรภ์ ระหว่างคลอด และหลังคลอด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อยที่สุด เชื้อ HIV โรคหนองใน โรคหนองในเทียม โรคหูดหงอนไก่และเชื้อ HPV โรคเริม โรคซิฟิลิส โรคไวรัสตับอักเสบเอ โรคไวรัสตับอักเสบบี และโรคไวรัสตับอักเสบซี ใครเสี่ยงที่จะติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ? การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใส่ถุงยางอนามัย กับบุคคลเหล่านี้จะทำให้คุณมีแนวโน้มการติดโรคทางเพศสัมพันธ์ได้มากขึ้น เช่น คู่นอนชั่วครั้งชั่วคราว, มีคู่นอนหลายคน หรือมีกิจกรรมทางเพศบ่อย ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักโดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยกับผู้ชายคนอื่น อายุน้อย ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องเพศสัมพันธ์ เคยมีประวัติเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในอดีต ดื่มสุรา  ใช้สารเสพติด เมื่อไหร่ที่ควรมาตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์? มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย (ทั้งผ่านทางช่องคลอด ทางปาก หรือทางหวารหนัก) มีอาการของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่บริเวณอวัยวะเพศของคุณ ได้แก่ องคชาต, ลูกอัณฑะ,… Continue reading STI คืออะไร?

เราควรตรวจเอชไอวีบ่อยแค่ไหน?

เอชไอวีเป็นโรคหลักๆที่ แพร่ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ฉะนั้นถ้าจะประเมินว่าควรตรวจบ่อยแค่ไหน ให้ประเมินจากพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของแต่ละคนจะดีที่สุด เพราะเอชไอวีไม่ใช่โรคที่อยู่ ๆ จะติดมาเลยเพียงแค่สัมผัสร่างกายคนอื่น แต่ช่องทางการติดจะมาจาก เพศสัมพันธ์ที่ไม่ใช้ถุงยางอนามัย และการใช้เข็มฉีดยาซ้ำเป็นหลัก ช่องทางอื่นจะมาจากการที่สารคัดหลั่งใด ๆ เข้าสู่ร่างกายผ่านแผลสดขนาดใหญ่ หรือการรับเลือดของผู้มีเชื้อ แต่สองช่องทางนี้จะมีโอกาสได้น้อยมาก ทำให้เพศสัมพันธ์ยังเป็นช่องทางหลักของการแพร่เชื้อเอชไอวี ฉะนั้นหากใครที่ไม่ได้มีเพศสัมพันธ์บ่อยมากนัก หรือมีกับคน ๆ เดียวที่คุ้นเคยกันดี ก็ไม่มีความจำเป็นต้องตรวจเอชไอวีมากนัก อาจจะตรวจแค่ครึ่งปีครั้ง หรือปีละครั้งเลยก็ได้ เพราะถือว่าไม่ได้มีความเสี่ยงรับเชื้อ แต่สำหรับคนที่มีเพศสัมพันธ์บ่อยกับคนที่ไม่รู้สถานะผลเลือด ควรเข้าตรวจเอชไอวีเพื่อรับยา PrEP ไปทานเพื่อป้องกันเอชไอวีจะดีที่สุด เพราะจะได้ไม่ต้องตรวจเอชไอวีบ่อยด้วย ที่ต้องตรวจจะมีแค่ช่วงก่อนรับยาไปทานและหลังทานยาครบในครั้งที่ 1 หรือ 2 เท่านั้น หลังจากครั้งที่ 3 เป็นต้นไปแพทย์อาจตัดสินใจจ่ายยาได้เลยโดยที่ไม่ต้องผ่านการตรวจเลือดการตรวจเอชไอวีถือเป็นเรื่องดีเพราะหากตรวจพบจะได้เข้าสู่กระบวนการรักษาได้ทันที แต่ถ้าเป็นไปได้ให้ป้องกันตัวเองด้วยยา PrEP ก่อนติดเชื้อแต่แรกจะดีกว่า เพราะการป้องกันโรคย่อมดีกว่าการรักษาเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของเอชไอวีที่ไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ เมื่อไรที่เราควรไปตรวจ เอชไอวี? เอชไอวีถือเป็นโรคที่ไม่ได้ติดง่ายมากนัก เพราะมีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลต่อโอกาสการติดเชื้อของแต่ละคน เช่น ปริมาณของเชื้อต้นทาง ช่องทางการรับเชื้อ สภาพแวดล้อมที่เชื้อสามารถอยู่ได้ ฯลฯ ฉะนั้นหากจะประเมินว่าควรไปตรวจเอชไอวีหรือไม่ ให้ประเมินจากความเสี่ยงตนอาจได้รับมาก่อนหน้าดีกว่า เช่น ความเสี่ยงจากเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัย… Continue reading เราควรตรวจเอชไอวีบ่อยแค่ไหน?