การติดเชื้อเอชไอวี (HIV) เป็นภาวะที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอลง ส่งผลให้ผู้ติดเชื้อมีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อจากภายนอกได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะการติดเชื้อจากโรคที่เรียกว่า “โรคติดเชื้อฉวยโอกาส” (Opportunistic Infections) ซึ่งเป็นการติดเชื้อที่เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากการติดเชื้อเอชไอวีจะทำให้ระดับ CD4 (เซลล์ภูมิคุ้มกัน) ลดลง ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ติดเชื้อมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเหล่านี้
Category: เอชไอวี
U=U คืออะไร? ทำความเข้าใจเพื่อลดการตีตรา และยกระดับความเข้าใจในสังคม
ในยุคปัจจุบัน เอชไอวี (HIV) ยังคงเป็นหนึ่งในโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ถูกเข้าใจผิด และเป็นสาเหตุของการตีตราในสังคม แม้ว่าความก้าวหน้าทางการแพทย์จะทำให้ผู้มีผลเลือดบวกสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ ความเข้าใจผิด และความกลัวที่ไม่สมเหตุสมผลยังคงส่งผลให้หลายคนเลือกที่จะตีตัวออกห่างหรือปฏิเสธการอยู่ร่วมกันกับผู้ติดเชื้อ การรับรู้ และเข้าใจแนวคิดใหม่ ๆ อย่าง U=U จะช่วยยกระดับทัศนคติที่ดีขึ้น ลดการตีตรา และสร้างความเชื่อมั่นในการใช้ชีวิตร่วมกันได้อย่างไร้กังวล
ไขข้อสงสัย Viral Load: ทำไมค่าปริมาณไวรัสถึงสำคัญต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี
ในวงการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี คำว่า “Viral Load” หรือ “ค่าปริมาณไวรัส” ถือเป็นตัวชี้วัดสำคัญที่แพทย์ใช้ในการประเมินสถานะสุขภาพและประสิทธิภาพของการรักษา แล้วทำไมค่าปริมาณไวรัสถึงมีความสำคัญขนาดนั้น? ในบทความนี้เราจะมาไขข้อสงสัยกัน
CD4 สัมพันธ์ยังไง ในผู้ติดเชื้อเอชไอวี?
CD4 (Cluster of differentiation 4) คือ เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่ควบคุม และต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งมีคุณสมบัติเป็น Glycoprotein อยู่บนผิวเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดที่ทำงานเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกาย หรือ T-helper หรือ T-Cell โดยมีหน้าที่ ที่สำคัญมาก คือ ช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกัน ต้านทาน และกำจัดเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ โดยเฉพาะพวกเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส หรือสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ออกจากร่างกาย
ผลข้างเคียงของยาเพร็พ (PrEP)
การป้องกันโรคก่อนการสัมผัสด้วยยาเพร็พ ซึ่งเป็นยาเพื่อป้องกันไม่ให้คุณติดเชื้อเอชไอวี เช่นเดียวกับยาอื่นๆ อาจมีผลข้างเคียง รวมถึงผลข้างเคียงในระยะยาว ฉะนั้นจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับยาเพร็พ และผลข้างเคียงของยา สิ่งสำคัญที่ต้องจำไว้ว่า ไม่ใช่ทุกคนที่กินยาจะประสบกับผลข้างเคียง ทำให่ยาเพร็พ ยังถือว่าเป็นยาที่มีความปลอดภัยมาก
ภาวะแทรกซ้อน ของผู้ติด HIV
การติดเชื้อ HIV หรือ Human Immunodeficiency Virus เป็นไวรัสที่มุ่งเข้าโจมตีระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมนุษย์ โดยเฉพาะเซลล์ CD4 (ซีดีโฟร์) ซึ่งมีความสำคัญต่อการต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆ หากปล่อยไว้โดยไม่รักษา เชื้อเอชไอวี สามารถพัฒนาไปสู่ระยะที่สูงขึ้นเรื่อยๆ จนเข้าสู่ระยะสุดท้าย ซึ่งเรียกว่าโรคเอดส์ (Acquired Immunodeficiency Syndrome) โรคเอดส์ เป็นลักษณะอาการที่เกิดขึ้นจากการไม่มีอยู่ของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ผู้ติด HIV ติดโรคอื่นๆ ได้ง่าย เรียกว่า “โรคฉวยโอกาส” นั่นเอง
การรักษา HIV ด้วยยาต้านไวรัส
การรักษาด้วยยาต้านไวรัส (ART) เป็นการรักษาโรคเอดส์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาร่วมกันเพื่อชะลอการลุกลามของไวรัส บทความนี้อธิบายว่า ART คืออะไร ทำงานอย่างไร และประโยชน์ของมัน
จะทำอย่างไร ถ้ามีเซ็กส์กับ คนติดเชื้อ HIV
เรื่องเซ็กส์เป็นเรื่องธรรมชาติที่คนทุกคนจะมีได้ แต่จะทำอย่างไรหากคุณมีเพศสัมพันธ์กับ คนติดเชื้อ HIV เพราะคู่นอนที่เรารู้จักก็อาจจะไม่ได้ซื่อสัตย์กับเรา ไม่ได้บอกความจริงเกี่ยวกับสถานะเอชไอวีของตัวเอง หรือบางคู่เป็นคนที่มีความเสี่ยงบ่อยอยู่แล้ว ทำให้เราไม่แน่ใจว่า ได้พลั้งเผลอมีอะไรกับ คนติดเชื้อ HIV ไปหรือไม่ วันนี้ เรามีคำแนะนำหากคุณมีความเสี่ยงมาฝากกันครับ ทำอย่างไร ถ้าเผลอมีเซ็กส์กับ คนติดเชื้อ HIV หากรู้แน่แล้ว หรือสงสัยว่าคู่นอนเป็นคนที่มีเชื้อเอชไอวี คุณควรพิจารณาว่า ขณะที่มีเพศสัมพันธ์ได้ทำการป้องกันตัวเองด้วยถุงยางอนามัยหรือไม่ หรือก่อนหน้านี้คุณเองได้มีการรับประทานยาเพร็พ (PrEP) ที่เป็นยาต้านไวรัสเอชไอวีก่อนมีความเสี่ยงไว้ก่อนไหม เพราะปัจจัยเหล่านี้ มีผลต่อการวินิจฉัยของแพทย์ และช่วยลดเปอร์เซนต์ความเสี่ยงที่จะติดเชื้อลงไปได้มาก แต่หากคุณไม่ได้มีการป้องกันตัวเองด้วยวิธีใดเลย คุณควรปฏิบัติดังต่อไปนี้ รีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อขอรับบริการยาเป๊ป ยาเป๊ป (PEP) เป็นยาต้านฉุกเฉิน สำหรับคนที่มีความเสี่ยงต่อเอชไอวี ในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง ในผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัยกับคนที่มีเชื้อเอชไอวีหรือถุงยางอนามัยแตกรั่วในระหว่างที่มีเพศสัมพันธ์ รวมไปถึง ผู้ที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น ผู้ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ ถูกข่มขืน หรือถูกอุบัติเหตุเข็มทิ่มตำในสถานพยาบาล หากเข้าข่ายดังที่กล่าวมานี้ ควรติดต่อสถานพยาบาลที่ให้บริการยาเป๊ป (PEP) โดยเร็ว ซึ่งการรับประทานยาเป๊ปจะใช้เวลาประมาณ 28 วัน หรือตามแพทย์สั่งจ่ายยาให้ โดยการทำงานของยาเป๊ป คือ… Continue reading จะทำอย่างไร ถ้ามีเซ็กส์กับ คนติดเชื้อ HIV
การใช้ยาเพร็พ (PrEP)
ยาต้านไวรัสเอชไอวีเป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งหรือต้านการแบ่งตัวของเชื้อเอชไอวี ช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T-cell มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อได้สูงสุดถึง 99% หากมีการใช้อย่างถูกวิธี Exposure prophylaxis เป็นยาที่ทานเพื่อป้องกันการติดเชื้อ HIV เท่านั้น ไม่ได้รวมถึงโรคอื่น โดยก่อนการรับยาต้องมีการประเมินความเสี่ยงจากประวัติของคนไข้ว่าตรงตามเงื่อนไขการรับยาหรือไม่ ประกอบกับการตรวจเลือดตามมาตรฐานสากล(คนไข้ที่จะรับยาจะต้องมีผล HIV เป็นลบ) และยาในกลุ่มนี้ต้องพิจารณาจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น รู้จักยาเพร็พ (PrEP) ยา PrEP ย่อมาจาก pre-exposure prophylaxis หมายถึง การให้ยาต้านไวรัสเอชไอวีในผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อ ก่อนมีการสัมผัสที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีจากการสัมผัสนั้น การใช้ยาเพร็พ (PrEP) รับประทานตรงเวลาทุกวันไปตลอดช่วงเวลาที่มีความเสี่ยง โดยต้องรับประทานก่อนมีความเสี่ยงอย่างน้อย 7 วัน และต้องรับประทานต่อหลังความเสี่ยงครั้งสุดท้ายอย่างน้อย 4 สัปดาห์ มีอีกวิธีคือรับประทานยา 2 เม็ด ก่อนมีความเสี่ยง 2-24ชั่วโมง, 1 เม็ดหลังความเสี่ยง 24 ชั่วโมงและอีก 1 เม็ดที่ 48 ชั่วโมงหลังมีความเสี่ยง ซึ่งวิธีนี้เรียกว่า on-demand PrEP แต่ปัจจุบันยังไม่จัดว่าเป็นวิธีมาตรฐานที่แนะนำให้ใช้โดยทั่วไป สาเหตุที่ต้องรับยาเพร็พ (PrEP)… Continue reading การใช้ยาเพร็พ (PrEP)
ประโยชน์ของถุงยางอนามัย
ถุงยางอนามัยมีความสำคัญในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการคุมกำเนิด ในปัจจุบัน มีถุงยางอนามัยให้เลือกใช้ ทั้งแบบสำหรับสตรีและแบบสำหรับบุรุษ ถุงยางอนามัยคือ? ถุงยางอนามัย (Condom) มาจากภาษาละติน แปลว่า ภาชนะที่รองรับ ทำด้วยวัสดุจากยางพารา หรือโพลียูรีเทน โดยฝ่ายชายเป็นฝ่ายใช้สวมครอบอวัยวะเพศของตนเอง และเป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้เป็นอันดับต้นๆ สำหรับช่วยป้องกันการคุมกำเนิด และช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งปัจจุบันมีการผลิต และพัฒนาถุงยางอนามัยออกสู่ตลาดจำนวนมาก ในหลากหลายแบบให้เลือก ทั้งที่มีสีสัน ผิวเรียบ ผิวไม่เรียบ มีกลิ่น และรสผลไม้ รวมทั้งมีรูปทรงที่แปลกตามากขึ้น ซึ่งแต่ละแบบเน้นวัตถุประสงค์ในการใช้งานที่แตกต่างกันไป แนะการใช้ถุงยางอนามัย 4 ขั้นตอน เลือก เก็บ ใช้ ทิ้ง ที่เราทุกคนสามารถทำได้ด้วยตัวเอง ดังนี้ เลือก ให้ถูกไซส์ ถุงยางอนามัยมีหลายขนาด ตั้งแต่ ขนาด 49 มิลลิเมตร ขนาด 52 มิลลิเมตร ขนาด 54 มิลลิเมตร และ ขนาด 56 มิลลิเมตร รวมถึง กลิ่น… Continue reading ประโยชน์ของถุงยางอนามัย