ไวรัสตับอักเสบบี : สาเหตุ อาการ การรักษา และการป้องกัน

beefhunt หาคู่

ไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) เป็นหนึ่งในโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบไตในมนุษย์อย่างสำคัญ โรคนี้เกิดจากไวรัสตับอักเสบบีที่เข้าไปทำลายเซลล์ตับของเรา โดยมักจะถูกติดต่อผ่านทางเลือด หรือน้ำลายที่มีเชื้อจากบุคคลที่ติดเชื้อ สำหรับผู้ที่ติดเชื้อไวรัสนี้ มีโอกาสที่จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคตับเรื้อรังอย่างไร้ความรู้สึกมากขึ้น เราจึงจำเป็นต้องทราบข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุ อาการ การรักษา และการป้องกันของโรคนี้อย่างชัดเจน

ไวรัสตับอักเสบบี สาเหตุ อาการ การรักษา และการป้องกัน

โรคไวรัสตับอักเสบบี คืออะไร

โรคไวรัสตับอักเสบบี คือ การอักเสบของเซลล์ตับที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B Virus : HBV) ซึ่งการติดเชื้อนี้อาจนำไปสู่โรคร้ายที่เป็นอันตรายต่อตับและชีวิตได้ เช่น ตับวาย ตับแข็ง และมะเร็งตับ โดยเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เป็นสาเหตุให้เซลล์ตับตาย มีการอักเสบ และเกิดพังผืดในตับ จนนำไปสู่ภาวะตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง และอาจกลายเป็นมะเร็งตับในที่สุด และเชื้อไวรัสตับอักเสบบี สามารถแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้ง่าย  เช่น ติดต่อทางเลือด น้ำเชื้อ และน้ำหลั่งอย่างอื่น การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อโดยไม่ได้สวมถุงยางอนามัย

โรคไวรัสตับอักเสบบี  สามาถแบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ

  •  ระยะเฉียบพลัน (เป็นแล้วหายภายใน 6 เดือน)  เมื่อได้รับเชื้อไปแล้วราว 2 – 3 เดือน จะมีอาการเป็นไข้ เป็นหวัด ปวดเมื่อยตามตัว หลังจากนั้นประมาณ 1 สัปดาห์จะมีอาการตับอักเสบ ตัวเหลือง ตาเหลือง ถ้าตรวจดูจะมีค่า การทำงานของตับสูงกว่าปกติ อาการพวกนี้จะดีขึ้นภายใน 2 – 3 สัปดาห์ หลังจากนั้นร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานขึ้นมา และผู้ป่วยส่วนมาก จะไม่กลับมาเป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีอีก แต่ถ้าภูมิคุ้มกันไม่สามารถจัดการกับเชื้อไวรัสได้ ก็จะกลายเป็นโรคไวรัสตับอักเสบชนิดเรื้อรังซึ่ง อาจส่งผลให้ผู้ป่วยเป็นโรคตับแข็งและมะเร็งตับได้ในที่สุด
  • ระยะเรื้อรัง (เป็นนานกว่า 6 เดือน) ส่วนมากแล้ว ผู้ป่วยที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีชนิดเรื้อรังมักจะได้รับเชื้อ มาตั้งแต่ยังอยู่ในวัยทารก หรือวัยเด็ก โดยได้รับจากมารดาในช่วงหลังคลอด รวมทั้งได้รับเชื้อจากคนแวดล้อม และสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่อายุยังน้อย ๆ  เพราะเด็กเล็กๆมีภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรงดีจึงติดเชื้อง่าย ซึ่งร่างกายยังไม่รู้ว่าเชื้อนี้เป็นเชื้อโรคที่ต้องกำจัด เชื้อจึงเข้าไปอยู่ในตับโดยไม่ถูกต่อต้าน และแพร่พันธุ์ไปเรื่อย ๆ ถ้าตรวจดูเด็ก ๆ พวกนี้จะพบไวรัสเป็นร้อย ๆ ล้าน ๆ ตัวต่อเลือด 1 ซีซี เลยทีเดียว โดยเด็กไม่มีอาการตับอักเสบ ถือเป็นพาหะไวรัสบีเฉยๆ
อาการของโรคไวรัสตับอักเสบบี

อาการโรคไวรัสตับอักเสบบี

ระยะเฉียบพลัน โดยอาการที่มีจะเป็นๆ หายๆ และอาจคล้ายกับอาการเจ็บป่วยอื่นๆ แต่ที่แสดงออกเด่นชัดก็คือ

  • เบื่ออาหาร
  • มีไข้ต่ำๆ
  • อ่อนเพลีย
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • มีอาการตาเหลือง ตัวเหลือง
  • ปัสสาวะเหลืองเข้ม

ระยะเรื้อรัง ซึ่งอาจไม่มีอาการ หรือมีภาวะตับอักเสบเรื้อรังนานจนเกิดตับแข็ง โดยอาจเริ่มมีอาการ เช่น

  • ตาเหลือง ตัวเหลือง
  • ท้องโต
  • เลือดออกในทางเดินอาหารเนื่องจากเส้นเลือดโป่งพอง
  • อาการซึม
  • ไม่รู้สึกตัว

และอาจเกิดภาวะตับวาย และเสียชีวิตในที่สุด ทั้งระยะเฉียบพลันและระยะเรื้อรัง ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีสามารถแพร่เชื้อผ่านทางเลือดและสารคัดหลั่งได้

การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบบี

  • การใช้ยาชนิดรับประทาน ไปยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสตับอักเสบบี
  • การใช้ยาฉีด เพื่อกระตุ้นภูมิต้านทานของผู้ป่วย ที่เรียกว่า ยาฉีดเพ็กไกเลดเตด อินเตอร์เฟียรอน (pegylated interferon) ยาตัวนี้มีฤทธิ์ไปกระตุ้นภูมิต้านทานของผู้ป่วยให้ต่อสู้ควบคุมไวรัสตับอักเสบบีเป็นหลัก แต่ก็มีฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสบ้าง

การรักษาด้วยยาฉีดเพ็กไกเลดเตด อินเตอร์เฟียรอน จะใช้เวลารักษานาน 48 สัปดาห์ สามารถได้ผลตอบสนองระยะยาว 6 เดือน ประมาณร้อยละ 33–40 หลังหยุดฉีดยาแล้วภูมิต้านทานของผู้ป่วยที่ถูกกระตุ้นไว้ ยังคงออกฤทธิ์ต่อสู้กับไวรัสอยู่จึงสามารถมีการตอบสนองเพิ่มขึ้น อีกประมาณร้อยละ 14 หลังหยุดการรักษาไปแล้ว 1 ปี ผลตอบสนองจากการรักษาด้วยยาฉีดอินเตอร์เฟียรอนมักอยู่นาน โอกาสการกลับเป็นซ้ำน้อยกว่ายากินต้านไวรัส

การป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี

การป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี

  • วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี คือ การสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสตับอักเสบบี โดยการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี  ซึ่งปกติถ้ามีภูมิคุ้มกันแล้วจะป้องกันการติดเชื้อได้ตลอดชีวิต  โดยคนที่ควรจะได้รับการฉีดวัคซีน ดังนี้
    • ผู้ที่ควรฉีดวัคซีนมากที่สุดคือ เด็กแรกเกิด
    • ผู้ที่ตรวจเลือดแล้วไม่พบว่าติดเชื้อมาก่อน
    • ที่มีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคนี้
    • ผู้ป่วยไตวายที่ต้องฟอกไต
    • ผู้ที่อาจมีภูมิต้านทานบกพร่องในอนาคต
  • ปัจจุบันทารกแรกเกิดทุกคนจะได้รับวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีตั้งแต่แรกคลอด หลังฉีดวัคซีนครบ 3 เข็มแล้วเกือบทั้งหมดจะมีภูมิคุ้มกัน
  • ผู้ที่อยู่ในครอบครัวที่เป็นพาหะ ควรตรวจเลือดเพื่อทราบถึงภาวะของการติดเชื้อก่อนการฉีดวัคซีน การฉีดวัคซีนต้องฉีดให้ครบชุดจำนวน 3 เข็ม หลังจากนั้นวัคซีนจะกระตุ้นให้เกิดภูมิต้านทานขึ้นในร่างกาย
  • เราสามารถตรวจได้ว่ามีภูมิคุ้มกันหรือไม่ โดยการตรวจเลือด ซึ่งปกติไม่ได้แนะนำให้ตรวจเป็นประจำ อาจตรวจเฉพาะในรายที่สงสัยหรือมีญาติสนิทเป็นโรคตับอักเสบจากไวรัสบีเท่านั้น
  • คนที่ไม่มีภูมิคุ้มกันจำเป็นจะต้องระวังการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์และทางเลือด (ของมีคม การรับบริจาคเลือด  ซึ่งปัจจุบันมีโอกาสน้อยมาก ใช้เข็มฉีดยาเสพติดร่วมกัน การสักหรือเจาะร่างกาย)

อ่านบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

การตีตรา โรคติดต่อทางเพศ

ไวรัสตับอักเสบซี มียารักษาหายขาดแล้วนะ

ไวรัสตับอักเสบบีเป็นโรคที่สามารถกระทำให้เกิดอาการตับอักเสบ และเสี่ยงต่อการเป็นโรคตับเรื้อรังได้ การรักษาโรคนี้มุ่งเน้นไปที่การบรรเทาอาการ และป้องกันการเกิดโรคตับเรื้อรัง โดยการฉีดวัคซีนต้านไวรัสตับอักเสบบีเป็นวิธีการป้องกันที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง และคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาวให้แก่ตัวเอง และครอบครัวของเราทุกคน