การติดเชื้อเอชไอวี (HIV) เป็นภาวะที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอลง ส่งผลให้ผู้ติดเชื้อมีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อจากภายนอกได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะการติดเชื้อจากโรคที่เรียกว่า “โรคติดเชื้อฉวยโอกาส” (Opportunistic Infections) ซึ่งเป็นการติดเชื้อที่เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากการติดเชื้อเอชไอวีจะทำให้ระดับ CD4 (เซลล์ภูมิคุ้มกัน) ลดลง ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ติดเชื้อมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเหล่านี้
Tag: HIV
U=U คืออะไร? ทำความเข้าใจเพื่อลดการตีตรา และยกระดับความเข้าใจในสังคม
ในยุคปัจจุบัน เอชไอวี (HIV) ยังคงเป็นหนึ่งในโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ถูกเข้าใจผิด และเป็นสาเหตุของการตีตราในสังคม แม้ว่าความก้าวหน้าทางการแพทย์จะทำให้ผู้มีผลเลือดบวกสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ ความเข้าใจผิด และความกลัวที่ไม่สมเหตุสมผลยังคงส่งผลให้หลายคนเลือกที่จะตีตัวออกห่างหรือปฏิเสธการอยู่ร่วมกันกับผู้ติดเชื้อ การรับรู้ และเข้าใจแนวคิดใหม่ ๆ อย่าง U=U จะช่วยยกระดับทัศนคติที่ดีขึ้น ลดการตีตรา และสร้างความเชื่อมั่นในการใช้ชีวิตร่วมกันได้อย่างไร้กังวล
ไขข้อสงสัย Viral Load: ทำไมค่าปริมาณไวรัสถึงสำคัญต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี
ในวงการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี คำว่า “Viral Load” หรือ “ค่าปริมาณไวรัส” ถือเป็นตัวชี้วัดสำคัญที่แพทย์ใช้ในการประเมินสถานะสุขภาพและประสิทธิภาพของการรักษา แล้วทำไมค่าปริมาณไวรัสถึงมีความสำคัญขนาดนั้น? ในบทความนี้เราจะมาไขข้อสงสัยกัน
ทำความรู้จักยา ARV ยาที่เปลี่ยนชีวิตผู้ติดเชื้อ HIV
ยา ARV (Antiretroviral) เป็นกลุ่มยาที่ใช้ในการรักษาผู้ติดเชื้อ HIV (Human Immunodeficiency Virus) โดยมีเป้าหมายหลักในการลดจำนวนเชื้อไวรัสในร่างกายให้อยู่ในระดับต่ำที่สุด ยา ARV ทำงานโดยการยับยั้งการแพร่กระจายของไวรัส HIV และป้องกันไม่ให้เชื้อทำลายระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งส่งผลให้ผู้ติดเชื้อสามารถมีชีวิตที่ยืนยาวและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
แคมเปญ U=U และ Me เปลี่ยนทัศนคติต่อเอชไอวีในประเทศไทย
มูลนิธิ Love Foundation ได้เปิดตัวแคมเปญ “U=U และ Me” (https://uuandme.org/) เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการรักษาเอชไอวี และลดการตีตราผู้ติดเชื้อในสังคมไทย โดยแคมเปญนี้ มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนทัศนคติของคนไทยต่อเอชไอวี โดยมุ่งหวังที่จะสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคนี้และสนับสนุนให้ผู้ติดเชื้อสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ การเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้อง และการสนับสนุนจากชุมชนทำให้สามารถลดความกลัว และการตีตราในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นก้าวสำคัญในการสร้างสังคมที่มีความเข้าใจ และยอมรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีมากขึ้น
CD4 สัมพันธ์ยังไง ในผู้ติดเชื้อเอชไอวี?
CD4 (Cluster of differentiation 4) คือ เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่ควบคุม และต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งมีคุณสมบัติเป็น Glycoprotein อยู่บนผิวเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดที่ทำงานเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกาย หรือ T-helper หรือ T-Cell โดยมีหน้าที่ ที่สำคัญมาก คือ ช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกัน ต้านทาน และกำจัดเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ โดยเฉพาะพวกเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส หรือสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ออกจากร่างกาย
วัยรุ่นในปัจจุบัน มีแนวโน้มติดเชื้อเอชไอวี เพิ่มมากขึ้น
กรมอนามัย เตือนวัยรุ่นให้มีสติ รู้จักป้องกันการตั้งครรภ์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หลังพบวัยรุ่นมีแนวโน้มติดเชื้อเอชไอวีมากขึ้น พร้อมแนะวิธีปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์ เพื่อลดความเสี่ยง
ผลข้างเคียงของยาเพร็พ (PrEP)
การป้องกันโรคก่อนการสัมผัสด้วยยาเพร็พ ซึ่งเป็นยาเพื่อป้องกันไม่ให้คุณติดเชื้อเอชไอวี เช่นเดียวกับยาอื่นๆ อาจมีผลข้างเคียง รวมถึงผลข้างเคียงในระยะยาว ฉะนั้นจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับยาเพร็พ และผลข้างเคียงของยา สิ่งสำคัญที่ต้องจำไว้ว่า ไม่ใช่ทุกคนที่กินยาจะประสบกับผลข้างเคียง ทำให่ยาเพร็พ ยังถือว่าเป็นยาที่มีความปลอดภัยมาก
เอดส์ระยะที่ 2 เป็นอย่างไร
เอดส์ระยะที่ 2 หลายคนอาจเข้าใจว่า การติดเชื้อเอชไอวี (HIV) และโรคเอดส์ (AIDS) เป็นโรคเดียวกัน ดังนั้นบ่อยครั้ง จะใช้คำว่า “เอดส์” แทน “การติดเชื้อเอชไอวี” และเมื่ออ้างถึงระยะของโรค เช่น เอดส์ระยะที่ 1 เอดส์ระยะที่ 2 และเอดส์ระยะสุดท้าย แต่ในความจริงแล้ว การติดเชื้อเอชไอวี ถูกแบ่งออกเป็น 3 ระยะด้วยกัน หากผู้ติดเชื้อเอชไอวีในระยะที่ 2 มีการรับประทานยาต้านไวรัสอย่างต่อเนื่อง ดูแลตัวเองอย่างดี เชื้อเอชไอวีจะไม่พัฒนาเข้าสู่ระยะที่ 3 หรือระยะเอดส์ กล่าวคือผู้ติดเชื้อเอชไอวีจะไม่กลายเป็นเอดส์ทุกคน และสามารถมีชีวิตอยู่ได้เหมือนกับคนปกติทั่วไปโดยไม่เจ็บป่วยจากโรค
การรักษา HIV ด้วยยาต้านไวรัส
การรักษาด้วยยาต้านไวรัส (ART) เป็นการรักษาโรคเอดส์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาร่วมกันเพื่อชะลอการลุกลามของไวรัส บทความนี้อธิบายว่า ART คืออะไร ทำงานอย่างไร และประโยชน์ของมัน