ผลข้างเคียงของยาเพร็พ (PrEP)

การป้องกันโรคก่อนการสัมผัสด้วยยาเพร็พ ซึ่งเป็นยาเพื่อป้องกันไม่ให้คุณติดเชื้อเอชไอวี เช่นเดียวกับยาอื่นๆ อาจมีผลข้างเคียง รวมถึงผลข้างเคียงในระยะยาว ฉะนั้นจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับยาเพร็พ และผลข้างเคียงของยา สิ่งสำคัญที่ต้องจำไว้ว่า ไม่ใช่ทุกคนที่กินยาจะประสบกับผลข้างเคียง ทำให่ยาเพร็พ ยังถือว่าเป็นยาที่มีความปลอดภัยมาก

จะทำอย่างไร ถ้ามีเซ็กส์กับ คนติดเชื้อ HIV

เรื่องเซ็กส์เป็นเรื่องธรรมชาติที่คนทุกคนจะมีได้ แต่จะทำอย่างไรหากคุณมีเพศสัมพันธ์กับ คนติดเชื้อ HIV เพราะคู่นอนที่เรารู้จักก็อาจจะไม่ได้ซื่อสัตย์กับเรา ไม่ได้บอกความจริงเกี่ยวกับสถานะเอชไอวีของตัวเอง หรือบางคู่เป็นคนที่มีความเสี่ยงบ่อยอยู่แล้ว ทำให้เราไม่แน่ใจว่า ได้พลั้งเผลอมีอะไรกับ คนติดเชื้อ HIV ไปหรือไม่ วันนี้ เรามีคำแนะนำหากคุณมีความเสี่ยงมาฝากกันครับ ทำอย่างไร ถ้าเผลอมีเซ็กส์กับ คนติดเชื้อ HIV หากรู้แน่แล้ว หรือสงสัยว่าคู่นอนเป็นคนที่มีเชื้อเอชไอวี คุณควรพิจารณาว่า ขณะที่มีเพศสัมพันธ์ได้ทำการป้องกันตัวเองด้วยถุงยางอนามัยหรือไม่ หรือก่อนหน้านี้คุณเองได้มีการรับประทานยาเพร็พ (PrEP) ที่เป็นยาต้านไวรัสเอชไอวีก่อนมีความเสี่ยงไว้ก่อนไหม เพราะปัจจัยเหล่านี้ มีผลต่อการวินิจฉัยของแพทย์ และช่วยลดเปอร์เซนต์ความเสี่ยงที่จะติดเชื้อลงไปได้มาก แต่หากคุณไม่ได้มีการป้องกันตัวเองด้วยวิธีใดเลย คุณควรปฏิบัติดังต่อไปนี้ รีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อขอรับบริการยาเป๊ป ยาเป๊ป (PEP) เป็นยาต้านฉุกเฉิน สำหรับคนที่มีความเสี่ยงต่อเอชไอวี ในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง ในผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัยกับคนที่มีเชื้อเอชไอวีหรือถุงยางอนามัยแตกรั่วในระหว่างที่มีเพศสัมพันธ์ รวมไปถึง ผู้ที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น ผู้ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ ถูกข่มขืน หรือถูกอุบัติเหตุเข็มทิ่มตำในสถานพยาบาล หากเข้าข่ายดังที่กล่าวมานี้ ควรติดต่อสถานพยาบาลที่ให้บริการยาเป๊ป (PEP) โดยเร็ว ซึ่งการรับประทานยาเป๊ปจะใช้เวลาประมาณ 28 วัน หรือตามแพทย์สั่งจ่ายยาให้ โดยการทำงานของยาเป๊ป คือ… Continue reading จะทำอย่างไร ถ้ามีเซ็กส์กับ คนติดเชื้อ HIV

การใช้ยาเพร็พ (PrEP)

ยาต้านไวรัสเอชไอวีเป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งหรือต้านการแบ่งตัวของเชื้อเอชไอวี ช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T-cell มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อได้สูงสุดถึง 99% หากมีการใช้อย่างถูกวิธี Exposure prophylaxis เป็นยาที่ทานเพื่อป้องกันการติดเชื้อ HIV เท่านั้น ไม่ได้รวมถึงโรคอื่น โดยก่อนการรับยาต้องมีการประเมินความเสี่ยงจากประวัติของคนไข้ว่าตรงตามเงื่อนไขการรับยาหรือไม่ ประกอบกับการตรวจเลือดตามมาตรฐานสากล(คนไข้ที่จะรับยาจะต้องมีผล HIV เป็นลบ) และยาในกลุ่มนี้ต้องพิจารณาจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น รู้จักยาเพร็พ (PrEP) ยา PrEP ย่อมาจาก pre-exposure prophylaxis หมายถึง การให้ยาต้านไวรัสเอชไอวีในผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อ ก่อนมีการสัมผัสที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีจากการสัมผัสนั้น การใช้ยาเพร็พ (PrEP) รับประทานตรงเวลาทุกวันไปตลอดช่วงเวลาที่มีความเสี่ยง โดยต้องรับประทานก่อนมีความเสี่ยงอย่างน้อย 7 วัน และต้องรับประทานต่อหลังความเสี่ยงครั้งสุดท้ายอย่างน้อย 4 สัปดาห์ มีอีกวิธีคือรับประทานยา 2 เม็ด ก่อนมีความเสี่ยง 2-24ชั่วโมง, 1 เม็ดหลังความเสี่ยง 24 ชั่วโมงและอีก 1 เม็ดที่ 48 ชั่วโมงหลังมีความเสี่ยง ซึ่งวิธีนี้เรียกว่า on-demand PrEP แต่ปัจจุบันยังไม่จัดว่าเป็นวิธีมาตรฐานที่แนะนำให้ใช้โดยทั่วไป สาเหตุที่ต้องรับยาเพร็พ (PrEP)… Continue reading การใช้ยาเพร็พ (PrEP)